โปรดทำความรู้จักกันก่อนตัดสิน วิว ปิยวรรณ ชื่นตะโก ทรานส์แมนจริตอะแมนด้า หน้าเนวัดดาว

เคยรู้สึกเสียใจไหมที่ไปสัก “โห เสียใจไหม ฉันดูเหมือนคนเสียใจไหมล่ะ” วิว-ปิยวรรณ ชื่นตะโก ตอบคำถามเราด้วยการถามกลับกลั้วเสียงหัวเราะแล้วโชว์รอยสักทั่วทั้งแขนให้ดูกันชัด ๆ แม้ในทุกวันนี้สังคมจะเปิดรับการสักมากขึ้นในฐานะงานศิลปะบนเรือนร่าง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมามุมมองที่สังคมไทยหรือแม้กระทั่งอีกหลาย ๆ ประเทศมีต่อคนที่มีรอยสักมักจะเป็นมุมมองที่เกิดจากอคติ และหากจะมีสิ่งใดที่คนใช้ตัดสินกันจากภาพลักษณ์ภายนอก รอยสักก็คงจะอยู่ลำดับต้น ๆ “รอยนี้ได้มาจากในคุกเหรอ” “ตอนเรียนชอบยกพวกตีกันละสิ” “ไปสักทำไม สกปรก เลอะเทอะ” “ทำอะไรไม่คิดระวังจะหางานทำไม่ได้” คนที่หลงใหลในการสักคงแทบไม่มีใครไม่เคยเจอถ้อยคำเหล่านี้ […]

ธนาคารจิตอาสา” และ “ความสุขประเทศไทย ร่วมกับ สสส. จัดกิจกรรม “ห้องสมุดมนุษย์” เปิดพื้นที่ให้รับฟังกันอย่างไม่ตัดสิน

“ธนาคารจิตอาสา” และ “ความสุขประเทศไทย ร่วมกับ สสส. จัดกิจกรรม “ห้องสมุดมนุษย์” เปิดพื้นที่ให้รับฟังกันอย่างไม่ตัดสิน มองเห็นความต่างคือความงดงาม กับสโลแกน “อย่าตัดสินหนังสือแค่เพียงปก” “ในโลกใบใหญ่นี้ยังมีผู้คนที่เรายังไม่ได้สัมผัส หรือรู้จักเขาดีพอ เรื่องราวที่เราเคยคิดไปเองว่า ต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ แท้จริงแล้วมันใช่แบบนั้นจริงหรือไม่” จากแนวคิดนี้กลุ่มคนทำงาน “ธนาคารจิตอาสา” และ “ความสุขประเทศไทย” จึงได้จัด “กิจกรรมห้องสมุดมนุษย์” […]

เล่าเรื่องเรา-รับฟังเรื่องเขา: Human Library ห้องสมุดมีชีวิตที่อาจเป็นพื้นที่เยียวยาหัวใจกันและกัน

“แม้ว่าทุกคนล้วนเคยผ่านความยากลำบากในชีวิตมา แต่เราก็ยังอยากเรียนรู้ว่า เขาผ่านจุดนั้นมาได้อย่างไร นี่คือการเห็นความเชื่อมโยงของความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันนะ” – อ.เอเชีย ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ผู้อำนวยการร่วมธนาคารจิตอาสา “ผ่านเรื่องนั้นมาได้อย่างไร?”  คำถามคลาสสิกในวงสนทนาระหว่างเพื่อนพ้อง ระหว่างมื้ออาหารของออฟฟิศ หรือคำถามจากพิธีกรต่อนักแสดง ดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง “มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากมองหาการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เช่นกัน เมื่อเราฟังเรื่องอะไรก็อยากจะหาประเด็นการเรียนรู้ และอีกอย่าง เผื่อว่ามันเกิดขึ้นกับตัวเรา” เช่นเดียวกันมันเป็นคำถามที่นักอ่านถามคนตรงหน้าในฐานะ “หนังสือมีชีวิต” […]

ออกจากอคติไปสู่ ‘พื้นที่แห่งความเข้าใจ’

อ่านมนุษย์ x mappa ชวนมองหาวิธีออกจาก echo chamber เคยสังเกตไหมว่าเมื่อเรากำลังสนใจประเด็นอะไร ในช่วงนั้นหน้าฟีดในโซเชียลมีเดียมักจะมีประเด็นนั้นขึ้นมาให้เห็นบ่อยๆ  อัลกอริทึ่มอันชาญฉลาดและช่างรู้ใจกลั่นกรองข้อมูลที่เราพึงใจมาให้รับรู้แทบจะ 24 ชั่วโมงจนเราได้รับข้อมูลซ้ำๆ ยิ่งคิด ยิ่งค้นหาข้อมูล ยิ่ง ‘บังเอิญ’ ได้อ่านความคิดที่คล้ายๆ กันเหมือนเราได้อยู่ใน echo chamber หรือ‘ห้องที่สะท้อนแต่เสียงตัวเอง’ ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยตอกย้ำทัศนคติและวิธีมองโลกของเราจนก่อให้เกิด ‘ความเอนเอียงแบบยืนยัน’ […]

สร้าง ‘พื้นที่ความเข้าใจ’ ให้ทัน ‘พื้นที่เห็นต่าง’ 5 ขั้นตอนชวนออกจาก Echo Chamber

“ทำไมไม่โตสักที อายุขนาดนี้แล้ว ยังจะแต่งตัวเป็นการ์ตูนแบบนี้อยู่อีก” พ่อถามลูกชายวัย 17 ปีที่กำลังจะออกไปงานรวมตัวของผู้ชื่นชอบการแต่งคอสเพลย์ “เฮ้อ เด็กสมัยนี้” พ่อถอนหายใจก่อนเตรียมจะไปพูดกับเพื่อนๆในแชทกลุ่ม และอ่านข่าวที่ขึ้นมาใน news feed ของตัวเอง “พ่อไม่มีวันเข้าใจหรอก” ลูกชายไม่พูดอะไร แต่เมื่อก้าวเท้าออกจากบ้าน ขึ้นรถไฟฟ้า ตอนนั้นเหมือนดังใจนึก บทความจากโซเชียลมีเดียก็กระเด้งขึ้นมาพอดี เป็นบทควาที่พูดถึงเด็กที่ไม่ได้รับการสนับสนุนความฝันและความถนัดจากพ่อแม่ “เห็นไหม พ่อไม่มีวันเข้าใจจริงๆ […]